加入收藏 | 设为首页 | 会员中心 | 我要投稿 | RSS ไทย
站内搜索: 高级搜索
    进入综合资讯  
您当前的位置:首页 > 会展商务 > 教育产业
朱拉隆功大学孔子学院 中泰语言文化交流的桥梁
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

QQ图片20140830075335.jpg

 朱拉隆功大学孔子学院由泰国朱拉隆功大学与中国北京大学合作共建。学院坐落于朱拉隆功大学最具民族传统风格的玛哈朱拉隆功大楼内,环境优美,学术气氛浓厚。zgX泰国展会服务平台

      2006年4月4日,泰国玛哈扎克里·诗琳通公主殿下和北京大学校长许智宏、国家汉办副主任赵国成见证了朱拉隆功大学与北京大学“合作建立孔子学院备忘录”的签字仪式。同年12月,北京大学校长许智宏与朱拉隆功大学校长坤仁素茶达签署了合作协议。zgX泰国展会服务平台

      2007年3月26日,诗琳通公主殿下亲自为孔子学院揭牌,并挥毫题词“任重道远”,勉励泰国孔子学院担当起推动中泰文化交流发展的重任。 朱拉隆功大学孔子学院实行理事会领导下的院长负责制,大政方针由理事会讨论决定,日常工作则由中泰双方院长负责组织实施。 zgX泰国展会服务平台

      学院坚持“因地制宜、突出特色、重点办学”的理念,积极开展汉语教学工作,除承担朱拉隆功大学汉语专业课程外,还开办了王宫官员汉语培训班、高校教师汉语培训班、泰国国家移民局官员汉语培训班等课程。zgX泰国展会服务平台

      为推动中泰学术科研交流,学院先后邀请了王蒙、余秋雨等中国知名学 者来泰开办文化讲座,并于2009年10月23日成功举办了“新中国六十年:改革与发展”学术研讨会。诗琳通公主殿下应邀参加并发表主旨演讲,还现场题词 “中泰同庆”,在泰国社会引起了强烈反响。zgX泰国展会服务平台

      展望未来,朱拉隆功大学孔子学院将继续依托北京大学和朱拉隆功大学作为中泰两国最高学府的资源优势,重点办学,突出科研,为促进中泰友好关系的发展作出积极贡献。zgX泰国展会服务平台

 zgX泰国展会服务平台



ข้อมูลโดยสังเขปของสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

   สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เรียกชื่อย่อว่า “สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ”) ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นอาคารทรงไทยและเป็นอาคารที่สร้างเป็นอาคารแรกภายในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ อาคารนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปวาง ศิลาฤกษ์เมื่อ 26 มีนาคม พ. ศ. 2459 อันถือว่าเป็นวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนพระทัยและใส่พระทัยติดตามกิจการของสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯมาโดยตลอด นับเป็นพระมหากรุณาเป็นพิเศษอย่างยิ่งแก่สถาบันฯ ฮั่นปั้น (สำนักงานเพื่อการเรียนการสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศแห่งประเทศจีน) และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยก็ได้สนับสนุนสถาบัน ขงจื่อแห่งจุฬาฯเป็นอย่างดีเช่นกัน

   
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทย มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศจีน
   
   วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยปักกิ่งได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการก่อตั้ง สถาบันขงจื่อระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีดังกล่าว พร้อมด้วยศาสตราจารย์สวี จื้อหง อธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และนายเจ้า กั๋วเฉิง รองผู้อำนวยการฮั่นปั้น ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ศาสตราจารย์สวี จื้อหง อธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และศาสตราจารย์ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมลงนามใน “ข้อตกลงความร่วมมือในการก่อตั้งสถาบันขงจื่อระหว่างมหาวิทยาลัยปักกิ่งและ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการก่อตั้งสถาบันขงจื่อระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
   
	สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดป้ายสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    วันที่ 26 มีนาคม 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในพิธีเปิดสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ฯพณฯ จาง จิ่วหวน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และศาสตราจารย์หยาง เหอ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม 2550 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ โอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ศาสตราจารย์จาง กั๋วโหย่ว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่งและคณะเข้าเฝ้าฯ และพระราชทานเลี้ยงอาหารเย็น ณ วังสระปทุม นอกจากนี้ ฯพณฯ จาง ซินเซิ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เยี่ยมชมสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ กรุงเทพฯในระหว่างที่มาเยือนประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
 

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระอักษรด้วยพู่กันจีน          

ฯพณฯ จาง ซินเซิ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเข้าเยี่ยมชมสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2550     


 

การบริหารจัดการองค์กร

ก. คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารของสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชุดที่ 1 ประกอบด้วยกรรมการฝ่ายไทยจำนวน 4 คน และกรรมการฝ่ายจีนจำนวน 3 คน รวม 7 คน ในการประชุมสามัญประจำปีสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1 ที่ประชุมได้มอบหมายให้รองศาสตราจารย์ ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน และศาสตราจารย์จาง กั๋วโหย่ว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นรองประธาน

กรรมการฝ่ายไทย
   1. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   2. ศาสตราจารย์ ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ฝ่ายไทย และหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก
   4. อาจารย์ ดร. สุรีย์ ชุณหเรืองเดช หัวหน้าสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรรมการฝ่ายจีน
   1. ศาสตราจารย์จาง กั๋วโหย่ว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
   2. ศาสตราจารย์จาง ซิ่วหวน ผู้อำนวยการฮั่นปั้นแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
   3. ศาสตราจารย์ฟู่ เจิงโหย่ว ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ฝ่ายจีน
        รองผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวัฒนธรรมสิรินธรแห่ง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

ข. ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ
คณะกรรมการบริหารของสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติเห็นชอบให้จัดระบบการบริหารสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน รูปแบบของ “ผู้อำนวยการคู่” มีผู้อำนวยการฝ่ายไทย 1 คน และผู้อำนวยการฝ่ายจีน 1 คน ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ชุดแรก ได้แก่
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เป็นผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ฝ่ายไทย
- ศาสตราจารย์ฟู่ เจิงโหย่ว เป็นผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ฝ่ายจีน

 

 

 

 
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 2 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท กรุงเทพฯ ประเทศไทย 10330
โทรศัพท์ 662-218-4915
โทรสาร 662-218-4740
อีเมล์ confucius_chula@chula.ac.th

 
相关文章
最新资讯
“红烛故乡行”海外华文教师走进宁夏
“2014年泰国(曼谷)留学中国教育展”将
2014年泰国教育展览10月15-17日在IMP
2014年泰国国际教育展将于11月1日—2
手机上网扫一扫
栏目热门
企业综合信息管理ERP系统
 
制造业的生产、服务、交货等管理
财务与会计管理
客户关系管理
供应链及供货商管理
项目与人力资源管理
泰国多语言网站设计制作

FRISTWEB建站用户送 500MB 企业邮箱

专业制作团队 一流硬件设备